HIVSST

ระบบขอรับการสนับสนุนชุดตรวจเอชไอวีและ
การให้การปรึกษาทางออนไลน์

hero dashboard hero elements

HIV Self-Test หรือ ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง

หมายถึง "การที่ผู้ตรวจทำการเก็บตัวอย่างเลือดหรือสารน้ำในช่องปาก ทำการตรวจและแปลผลเบื้องต้นด้วยตนเอง”
ปัจจุบันนี้ กฎหมายอนุญาตให้ตรวจเอชไอวีด้วยตนเองได้แล้ว มี 2 ชนิด คือ เลือดและสารน้ำในช่องปาก

การตรวจหาภูมิคุ้มกันของเชื้อเอชไอวี (Anti-HIV) จากเลือดปลายนิ้ว

  • ความไว หรือ sensitivity ไม่ต่ำกว่า 99.5 %
  • ความจำเพาะ หรือ specificity ไม่ต่ำกว่า 99 %

Card image
Card image
การตรวจหาภูมิคุ้มกันของเชื้อเอชไอวี (Anti-HIV) จากสารน้ำในช่องปาก

  • ความไว หรือ sensitivity ไม่ต่ำกว่า 99 %
  • ความจำเพาะ หรือ specificity ไม่ต่ำกว่า 98 %

หมายเหตุ : ความไว หรือ sensitivity คือ โอกาสที่คนที่เป็นโรคแล้ว จะตรวจได้ผลบวก ความจำเพาะ หรือ specificity คือ โอกาสที่คนไม่เป็นโรค จะตรวจได้ผลลบ

ชุดตรวจเอชไอวี ด้วยตนเอง

จากเลือดที่เจาะปลายนิ้ว

การเจาะปลายนิ้ว (Finger Puncture)

     ใช้เจาะในผู้ใหญ่และเด็กที่มีอายุมากกว่า 1 ปี นิ้วที่ใช้ (ถูก) เจาะ คือ นิ้วนางและนิ้วกลาง ซึ่งทั้งสองนิ้วนี้ก่อให้เกิดผลแทรกซ้อนน้อยกว่านิ้วอื่นๆ ตำแหน่งที่เจาะคือ จุดกึ่งกลางระหว่างตรงกลางนิ้ว (เนินนูน) กับด้านข้างของนิ้วโดยให้แผลที่เจาะตั้งฉากกับเส้นลายนิ้วมือ

ข้อจำกัดของการตรวจคัดกรอง
  • ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติ
  • ห้ามให้ชุดตรวจคัดกรองด้วยตนเองในผู้ที่รับยาต้านไวรัสเอชไอวีมาก่อนแล้ว เนื่องจากอาจจะเกิดผลลบปลอม (False Negative)
  • ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่เคยเข้าร่วมการศึกษาทดลอง วัคซีนเอชไอวี
คำเตือนและข้อควรระวัง
  • สำหรับการใช้งานเพียงครั้งเดียวและถูกออกแบบมา สำหรับการทดสอบเพียง 1 คนเท่านั้น
  • เก็บให้พ้นมือเด็ก
  • สามารถใช้ได้กับเลือดมนุษย์เท่านั้น
  • ห้ามใช้ชุดตรวจหลังจากวันหมดอายุ
  • ห้ามใช้ชุดตรวจที่มีบรรจุภัณฑ์ฉีกขาดหรือชำรุด
  • ไม่ควรอ่านผลที่ได้จากชุดตรวจ เกินกว่า 1 ชั่วโมง
ระยะหลบ "Window period"

     โดยการตรวจคัดกรองนี้จะให้ผลแม่นยำ หลังจากมีความเสี่ยงมาแล้ว 90 วัน หรือ 3 เดือน

หมายเหตุ:
วิธีการใช้ชุดตรวจต้องศึกษาโดยละเอียด จากเอกสารกำกับน้ำยาแต่ละยี่ห้อ

จากสารน้ำในช่องปาก

สารน้ำในช่องปาก (oral fluid) เป็นส่วนผสมของ

     Mucosa transudate ซึ่งเป็นสารน้ำในซีรัมที่ซึมผ่านเข้ามาอยู่ในช่องปากทางเยื่อบุช่องปาก น้ำจากเยื่อบุช่องปาก (gingival crevicular fluid, GCF) ซึ่งหลั่งออกมาจากซอกเหงือกและฟัน ,น้ำลาย (saliva) ที่หลั่งมาจากต่อมน้ำลาย

คำแนะนำ
  • การใช้ชุดตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีจากน้ำในช่องปากที่ดีที่สุดคือหลังจากผู้ใช้ผ่านช่วงภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV มาแล้วอย่างน้อย 3 เดือน
  • ต้องไม่ดื่มหรือทานอาหารก่อนใช้ชุดตรวจเป็นเวลา 30 นาที
  • ผู้ที่ใส่ที่ครอบฟันหรือฟันปลอมหรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ครอบคลุมเหงือก ต้องให้ถอดออกก่อนการตรวจทุกครั้ง
  • อย่าใช้ชุดตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีจากน้ำในช่องปาก เมื่อ
  • - ตราประทับที่เห็นได้ชัดถูกทำลายหรือเนื้อหาบรรจุภัณฑ์ขาดหายหรือถูกเปิดขึ้น
    - ชุดตรวจหมดอายุ (วันที่หมดอายุของวันที่พิมพ์อยู่ด้านนอกของกล่อง)
    - ชุดตรวจสัมผัสกับผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ
    - ชุดตรวจถูกเก็บไว้นอกอุณหภูมิที่ยอมรับได้ (2 ℃ - 30 ℃)
หมายเหตุ:
วิธีการใช้ชุดตรวจต้องศึกษาโดยละเอียด จากเอกสารกำกับน้ำยาแต่ละยี่ห้อ

วิธีการอ่านผลตรวจ จากชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง

contact customer service
มีปฏิกิริยา , Reactive

     ชุดตรวจที่ 1 : พบ 2 จุด/แถบ โดยพบบริเวณใกล้ ตัวอักษร C และจุดที่สองจะอยู่ด้านล่างของจุดนั้น
     ชุดตรวจที่ 2 และ 3 : ปรากฏแถบสีแดงขึ้น 2 แถบทั้งบริเวณแถบ C และ แถบ T จะอ่านผลว่า “มีปฏิกิริยา" แม้ว่าจะเห็นจุดด้านล่างขึ้นสีจางหรือแถบ C หรือ T ขึ้นแถบจางก็ตาม
     ความหมาย : คุณอาจติดเชื้อเอชไอวีหรืออาจไม่ติดเชื้อแต่เกิดจากผลบวกปลอมด้วยสาเหตุอื่นๆ

ไม่มีปฏิกิริยา , Non-reactive

     ชุดตรวจที่ 1 : สังเกตจากจุด ที่บริเวณใกล้ตัวอักษร C ขึ้นเพียงจุดเดียว
     ชุดตรวจที่ 2 และ 3 : ปรากฏแถบสีแดงบริเวณแถบ C เพียงแถบเดียว
     ความหมาย : ตรวจไม่พบการติดเชื้อเอชไอวี คำแนะนำคือ ทดสอบใหม่อีกครั้งในช่วง 3 เดือน

ไม่สามารถแปลผลได้ , Invalid

     ชุดตรวจที่ 1 : หากไม่ว่ามีจุดบริเวณใกล้ตัวอักษร C หรือไม่ปรากฎจุดใดๆ
     ชุดตรวจที่ 2 และ 3 :

    - ไม่ปรากฏแถบสีแดงทั้งแถบ C และ T ดังรูป (1)
    - ปรากฏแถบสีแดงนอกบริเวณสามเหลี่ยมทั้ง แถบ C และ/หรือ แถบ T ดังรูป (2) และ (4)
    - ปรากฏแถบสีแดงบริเวณแถบ T เท่านั้น ดังรูป (3)
    - พื้นหลังของแถบอ่านผลมีลักษณะไม่ชัดเจน ดังรูป (5)

วิธีการทิ้งชุดตรวจ

  • เก็บชุดตรวจที่ใช้แล้วให้พ้นมือเด็ก หรือไม่ให้สัตว์เลี้ยง หรือสัตว์อื่นๆ กัดแทะได้
  • นำวัสดุอุปกรณ์การตรวจเอชไอวีทั้งหมดใส่กลับไปในถุงใส่ชุดตรวจ ปิดผนึกถุงชุดตรวจให้แน่นมิดชิด และทิ้งถุงลงในถังขยะที่ติดเชื้อ
  • การทำลายของเสียหรือสารอันตรายที่เกิดจากการทดสอบสำหรับส่วนประกอบที่ไม่มีคม ทำได้โดยการเติมน้ำยาล้างจานหรือผงซักฟอกลงในส่วนประกอบต่างๆ ของชุดตรวจและทิ้งในถุงพลาสติก มัดปากถุงให้มิดชิด พร้อมทั้งเขียนหน้าถุงว่า " ขยะติดเชื้อ"
  • สำหรับกรณีส่วนประกอบมีคม ต้องบรรจุลงในภาชนะที่เป็นกล่องหรือถุงที่ทนทานต่อการแทงทะลุ มีฝาปิดมิดชิดและป้องกันการรั่วไหลของของเหลวภายในได้ โดยบรรจุไม่เกินสามในสี่ส่วนของภาชนะแล้วปิดฝาให้แน่น
  • นอกจากนี้ หากมีถังขยะสีแดงใกล้กับจุดที่ท่านใช้ชุดตรวจควรทิ้งลงในถังขยะสีแดง
contact customer service

ชุดตรวจ HIV Self Test ที่ขึ้นทะเบียนสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในประเทศไทย

ประเด็นเปรียบเทียบ Insti® OraQuick® I-CARE® CheckNOW®
ชนิดสิ่งส่งตรวจ เลือดปลายนิ้ว สารน้ำในช่องปาก เลือดปลายนิ้ว เลือดปลายนิ้ว
หลักการของชุดตรวจ Immuno Dot -Flow-through device Immuno-chromatography Lateral flow immunoassay Immunochromatography
(3rd generation)
ความไวที่ระบุในเอกสารกำกับ
(ความไวที่ประกาศฯ กำหนด)
99.5 %
(99.5 %)
100 %
(99 %)
99.5 %
(99.5 %)
100 %
(99.5 %)
ความจำเพาะของชุดตรวจ
(ความจำเพาะที่ประกาศฯ กำหนด)
100 %
(99 %)
99.87 %
(98 %)
100 %
(99 %)
99.90 %
(99 %)
การขึ้นทะเบียน อย. 28 พฤษภาคม 2564 20 กรกฎาคม 2564 13 กันยายน 2565 25 ตุลาคม 2566
บริษัทผู้ผลิต bioLytical Laboratories, Canada OraSure Technology, USA Nantong Egens Biotechnology, China Abon Biopharm (Hangzhou)
Co., Ltd., Hangzhou, P.R. China
บริษัทนำเข้า/วางจำหน่าย บริษัท ไฮเจีย ลอจิสติกส์ จำกัด บริษัท แปซิฟิค ไบโอเทค จำกัด บริษัท ยี่สิบสี่ ไอที เน็ตเวิร์ค จำกัด บริษัท ดีซีเอช ออริกา (ประเทศไทย) จำกัด

วีดีโอ สาธิตวิธีการใช้งาน

laptop charging
Insti®

อินสติ

transition up
OraQuick®

ออราควิก เอชไอวี เชลฟ์

edit
I-CARE®

iCARE

3d select solid
CheckNOW®

CheckNOW HIV SELF TEST

นโยบายและกฎหมาย

ที่เกี่ยวกับ HIVST ในประเทศไทย